ประมวลข่าว และภาพการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม WTUC 2022 conference ในระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2565
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นเจ้าภาพการจัดการประชุม World Technology Universities Congress 2022 (WTUC 2022) ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2565 โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสมาชิก เข้าร่วมจากประเทศ Brazil, Ireland, Austria, Germany, UK, Australia, Japan, Taiwan, Malaysia, Indonesia และ Thailand และสมาชิกเข้าร่วม ออนไลน์ จากประเทศ Bahrain, Zimbabwe และ India
ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 มีการประชุมกรรมการระดับดำเนินการและระดับผู้บริหาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือข่าย World Technology Universities Network (WTUN) มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ นโยบาย เป้าหมายและการขับเคลื่อน เครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีระดับนานาชาติ และจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรชัย โชติยางกูร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ได้กล่าวต้อนรับพร้อมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้ชมนวัตกรรมในมิติต่างๆของ มทส อาทิ เช่น สถานีชาร์จรถไฟฟ้าขนาดเล็ก (Mini EV Charging Station), ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดิจิทัลและเมทาเวิร์ส (Digital Technology Lab & Metaverse), เรือนเพาะชำกัญชาเพื่อการแพทย์ (Cannabis Greenhouse for Medicinal Use) และสถานพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา (SEDA) ในมหาวิทยาลัย
ลิงค์ประมวลภาพวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565
ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 เป็นการจัดกิจกรรมเสวนา ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะในมุมมองและบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรอบโลก ต่อความท้าทายในยุค new norm และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงฉับพลันของโลก การสร้างมูลค่าและผลกระทบด้วยนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ พันธกิจเพื่อชุมชนเพื่อผลกระทบระดับโลก ลักษณะนโยบายสถาบันอุดมศึกษารอบโลก โดยงานนี้ มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อผลิตงานวิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนกำลังคนให้เป็นพลเมืองโลก เพื่อตอบสนองต่อความท้ายเหล่านี้
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 เป็นการนำผู้ร่วมประชุมไปเยี่ยมชมความงดงามธรรมชาติของมรดกโลก และนวัตกรรม ของ มทส ภายใต้โครงการ ANSEE-KHAO YAI เพื่อการท่องเที่ยวที่ปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ คลองไผ่ ที่ มทส ดูแล เพื่อดูงานถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร ชุมชน และผู้ประกอบการ ตลอดจนชมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งดนตรี การแสดง และอาหาร ที่สะท้อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความมั่งคั่งมั่นคง
ในการนี้ มทส ในฐานะเจ้าภาพ เรานำความเป็นไทยมาสร้าง soft power ทั้งอาหาร ธรรมชาติ ประเพณีไทย การต้อนรับแบบไทย นวัตกรรมของไทย และเน้นเรื่องความยั่งยืนตาม นโยบายและทิศทางของโลก
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องลำตะคอง 1-3 โรงแรมแคนทารี โคราช ซึ่งเป็นวันที่สองของการจัดการประชุม World Technology Universities Congress 2022 (WTUC 2022) โดยมีสมาชิกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี จาก 11 ประเทศ อาทิ Brazil, Ireland, Austria, Germany, UK, Australia, Japan, Taiwan, Malaysia, Indonesia และประเทศไทย และสมาชิกเข้าร่วม ออนไลน์ จากประเทศ Bahrain, Zimbabwe และ India เข้าร่วมประชุม โดยในวันนี้เป็นการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะในมุมมองและบทบาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรอบโลก ต่อความท้าทายในยุค new norm และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงฉับพลันของโลก การสร้างมูลค่าและผลกระทบด้วยนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ พันธกิจเพื่อชุมชนเพื่อผลกระทบระดับโลก ลักษณะนโยบายสถาบันอุดมศึกษารอบโลกเพื่อมุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อผลิตงานวิจัย และนวัตกรรม ตลอดจนกำลังคนให้เป็นพลเมืองโลก เพื่อตอบสนองต่อความท้ายเหล่านี้
ลิงค์ประมวลภาพวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565
ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก อ. ดร.มัลลิกา สังข์สนิท รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ มทส. ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ Trends and Challenges of Thai Education: Implications for Technology Universities’
● Prof Mansoor Al Alali, President, Ahlia University บรรยายในหัวข้อ ‘Key drivers for current and future University governance: the way forward’ (ONLINE)
● Dr.S.N.Sridhara, Vice Chancellor and Dr Angeline Geetha, Dean of Engineering and Technology, Hindustan Institute of Technology and Science บรรยายในหัวข้อ ‘National Education Policy of India: responding to and implementing national policy in curriculum and administration for the purposes of international collaboration’ (ONLINE)
● Prof Mike Fitzpatrick, Pro-Vice-Chancellor (Engineering, Environment and Computing), Coventry University บรรยายในหัวข้อ ‘Coventry University Group: an educational model for a global presence’
จากนั้น ในช่วงค่ำเป็นงานเลี้ยงต้อนรับผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่เข้าร่วมการประชุม พร้อมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและชมการแสดงดนตรีพื้นเมือง จากนักศึกษาชมรมดนตรีและนาฎศิลป์ไทย มทส. รวมถึงการส่งมอบเจ้าภาพ WTUC 2023 ในปีถัดไป ได้แก่ Ilmenau University of Technology (Technische Universität Ilmenau , Germany
ในการนี้ ที่ประชุม WTUC2022 ชื่นชมเจ้าภาพ มทส. นำศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมถ่ายทอดความเป็นไทยปิดท้ายการประชุมอย่างอบอุ่น
ลิงค์ประมวลภาพวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการจัดประชุม World Technology Universities Congress 2022 (WTUC 2022) “The Future of Higher Education in the New Norm” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้นำผู้ร่วมประชุมไปศึกษาดูงาน ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage Site) และเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Park) โดยมี อ. ดร.มัลลิกา สังข์สนิท รองอธิการบดีฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์ นวัตกรรม และความเป็นผู้ประกอบการ และคณะ พร้อมด้วย นายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมให้การต้อนรับ และให้ข้อมูลการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ของ มทส. ที่ได้ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายใต้โครงการ ANSEE-KHAO YAI ทั้งด้านพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ และด้านการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวที่ปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
จากนั้น ผู้เข้าร่วมประชุมได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อพ.สธ.-มทส.) ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยมีกลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการ ในเครือข่าย อพ.สธ.-มทส. ร่วมนำผลิตภัณฑ์และผลผลิตทางการเกษตร ที่ได้รับการพัฒนาและต่อยอด จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อชุมชนร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชม นิทรรศการภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ อพ.สธ.-มทส. นิทรรศการหยาดป่า การสาธิตการผลิตชาสมุนไพร และ ชมบรรยากาศแปลงเกษตรภายในศูนย์ฯ
จากนั้นในช่วงเย็นเป็นงานเลี้ยงและพิธีปิดการประชุม ณ อาคาร Plant Workshop อพ.สธ.-มทส. โดยมี Final Keynote Speaker ได้แก่ อาจารย์ภัทราพร ยาร์บะระ Co-Founder และ Managing Director-Knowledge Dessemination ของ Salforest Co. Ltd. ซึ่งเป็น sustainable business accelerator แรกของประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ช่วยให้บริษัทชั้นนำของประเทศ ตลอดจนธุรกิจเพื่อสังคม และ NGO ต่างๆ เพิ่มผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ได้ให้เกียรติมาบรรยาย เรื่อง Higher Education for a Sustainable Development World โดยได้แนะนำมิติ SDG ต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยสามารถสนับสนุน SDG ของโลกและประเทศได้ ตลอดจนความท้าทายต่างๆ ให้เป็นแนวคิดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีได้พิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ รศ. ดร.อมรรัตน์ โมฬี ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้แนะนำ อพ.สธ. และนำกลุ่มเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับพร้อมถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย การแสดงดนตรีโฟล์คซองจากผู้ต้องขังที่พร้อมกลับสู่สังคมจากเรือนจำกลางคลองไผ่ การแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก โรงเรียนคลองไผ่วิทยา โรงเรียนนิยมมิตรวิทยาคาร กลุ่มสุขภาพดีเทศบาลตำบลคลองไผ่ และโรงเรียนบ้านโนนกุ่ม บรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่นและมิตรภาพ รวมถึงได้รับความชื่นชมจากผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ทั้งนี้ WTUC 2023 จะจัดที่ Germany โดย TU Ilmanau เป็นเจ้าภาพต่อไป